วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ซอฟแวร์ประยุกต์ช่วยในการทำงาน


     4.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ช่วยในการทำงาน    
                          ซอฟต์แวร์ประยุกต์(application software)        เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ
         4.1 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
      ซอฟแวร์ประยุกต์ทั่วไป (general purpose software) เป็นซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนอ เป็นต้น 
              1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ(word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร

    2)ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส


3)ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (data base management software) การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส

4)ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก



5)ซอฟต์แวร์จัดการด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย
ซอฟต์แวร์จัดการด้านกราฟิกเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เหมือนกระดานหรือสมุดวาดเขียนที่ผู้ใช้สามารถสร้างภาพเขียนได้ และมีอุปกรณ์ที่ช่วยในการวาดรูป เช่น ปากกาช่วยวาดลายเส้น พู่กันระบายสี และยางลบช่วยลบลายเส้นหรือสีที่ไม่ต้องการได้นอกจากนี้สามารถนำแฟ้มข้อมูลที่เป็นรูปภาพที่ถ่ายโดยใช้กล้องถ่ายรูปดิจิตอลมาแก้ไขตกแต่งได้ โดยซอฟต์แวร์จะมีเครื่องมือที่สามารถปรับเปลี่ยนความเข้มของแสง ปรับเปลี่ยนความแตกต่างของสีวัตถุในภาพ และสามารถตัดแปะองค์ประกอบของภาพหลาย ๆ ภาพ มาสร้างเป็นภาพใหม่ได้เหมือนการสร้างศิลปะ นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนลักษณะของภาพ ลักษณะของสีให้มีพื้นสีแบบต่าง ๆ ได้ ซอฟต์แวร์จัดการด้านกราฟิกที่เป็นที่นิยม เช่น โปรแกรมโฟโทชอพ (PhotoShop) โปรแกรมเพนท์บรัช (Paint Brush) โปรแกรมเพนท์ชอพ (Paint Shop)
ซอฟต์แวร์จัดการด้านกราฟิกบางโปรแกรม   สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์นำเข้าสแกนเนอร์   เพื่อจัดการนำเข้าข้อมูล  โดยแปลงข้อมูลรูปภาพให้เป็นข้อมูลแบบดิจิตอล และจัดเก็บข้อมูลในรูปของแฟ้มข้อมูลเพื่อนำมาแก้ไขต่อไป

      4.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
                      ซอฟแวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (application software for specific surpose) เป็นซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานขององค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ  ออกแบบและสร้างขึ้นโดยผู้ผลิตซอฟแวร์ที่มีความชำนาญในด้านนั้นๆ หรือพัฒนาโดยฝ่ายบุคากรฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรก็ได้ โดยผ่านการวิเคราะห์ ออกแบบ ลงมือ สร้าง และทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องก่อนจึงจะสามารถนำมาใช้งานได้เช่น โปรแกรมคำนวณภาษีของประชาชน เป็นต้น
       1 )ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจ(business software) การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป เเต่อาจจะนำมาประยุกต์ใช้โดยตรงกับงานธุรกิจบางอย่างได้ เช่น กิจธนาคาร มีการฝาก-ถอน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงมีการพัฒนาซอฟตืแวร์ใช้งานเฉพาะ สำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย ซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจมักจะเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น แล้วจึงจัดทำขึ้นโดยทั่วไปจะเป็นซอฟตืแวร์ที่มีหลายส่วนทำงานร่วมกัน ซอฟตืแวร์ที่ใช้งานที่ใช้กันในธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบจัดจำหน่าย ระบบงานสินค้าคงคลัง ระบบงานบริหารการเงิน เป็นต้น


2) ซอฟต์แวร์อื่นๆ   ซอฟต์แวร์ประยุก๖์เฉพาะงานนอกจากจะเป็นซอฟต์แวร์สำหรับงานธุรกิจเเล้ว ยังมีซอฟต์แวร์อื่นๆ อีกเช่น โปรเเกรมช่วยค้นหาคำศัพท์ โปรแกรมเพื่อความบันเทิง เป็นต้น


วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ซอฟต์แวร์ระบบช่วยในการทำงาน



3.ซอฟต์แวร์ระบบช่วยในการทำงาน
              ซอฟต์แวร์ระบบ  คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระการแสดงผลบนจอภาพการนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้มการเรียกค้นข้อมูลการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดีคือระบบปฏิบัติการ(operating System) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น

        3.1ระบบปฏิบัติการ
                      ระบบปฏิบัติการ (Operating System :OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้ใช้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ซีพียู หน่วยความจำ ไปจนถึงส่วนนำเข้าและส่งออกผลลัพธ์ ( input/output device ) บางครั้งก็นิยมเรียกรวม ๆ ว่า แพลตฟอร์ม (platform ) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการติดตั้งอยู่ในเครื่องเสียก่อน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องนั้น ๆ ว่าจะเลือกใช้แพลตฟอร์ม หรือระบบปฏิบัติการอะไรในการทำงาน เราจะพบเห็นระบบปฏิบัติการอยู่ในคอมพิวเตอร์แทบจะทุกประเภทตั้งแต่เครื่องขนาดใหญ่อย่างเครื่องเมนเฟรมจนถึงระดับเล็กสุด เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาประเภทพีดีเอ
         หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
1.การจองและการกำหนดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์
2.การจัดตารางงาน
3.การติดตามผลของระบบ
4.การทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน
5.การจัดแบ่งเวลา
6.การประมวลผลหลายชุดพร้อมกัน
   ตัวอย่างระบบปฏิบัติการที่สำคัญควรรู้มีดังนี้

          1) ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์(Microsoft Windows) เป็นการพัฒนาจาก บริษัทไมโครซอฟต์ เพื่อใช้กับเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer: PC) ซึ่งคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) ในการทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆ ของเครื่อง และอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพที่สูงขึ้น จากระบบ Windows XP โดยต้องเตรียมคุณสมบัติ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เตรียมฮาร์ดดิสก์ (การแบ่งพาร์ติชัน) การฟอร์แมต แล้วจึงติดตั้ง ระบบปฏิบัติการ Windows Vista ได้ ซึ่งระบบปฏิบัติการต่างๆ ที่ทางไมโครซอฟท์ ได้ออกแบบมา ต้องสัมพันธ์กันกับ อุปกรณ์ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย ไม่เช่นนั้น การทำงานของระบบอาจ ไม่มีประสิทธิภาพพอ


2) ระบบปฏิบัติการแมคอินทอช (Macint  Operating System) ที่แนะนำในปี 2527 โดย Apple Computerเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกที่เป็น graphical user interface (GUI) รุ่นแรกที่ขายอย่างกว้างขวาง Mac ได้รับการออกแบบที่ให้ผู้ใช้ด้วยการอินเตอร์เฟซแบบธรรมชาติ เข้าใจได้ตามสัญชาติญาณและโดยทั่วไป “เป็นมิตรกับผู้ใช้” ความคิดการอินเตอร์เฟซกับผู้ใช้จำนวนมากใน Macintosh มาจากการทดลองที่ห้องปฏิบัติการ Xerox Park ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 รวมถึงเมาส์ ใช้ไอคอนหรือภาพมองเห็นได้ขนาดเล็กเพื่อนำเสนออ๊อบเจคหรือการกระทำ การกระทำชี้-และ-คลิก และ คลิก-และ-ลาก และความคิดระบบปฏิบัติการจำนวนหนึ่ง Microsoft ประสบความสำเร็จในแนวคิดการปรับปรุงการอินเตอร์เฟซแรกทำให้นิยมโดย Mac ในระบบปฏิบัติการแรก
Macintosh มีระบบปฏิบัติการของตัวเอง Mac OS ซึ่งในเวอร์ชันล่าสุดได้รับการเรียกว่า Mac OS X เวอร์ชันนี้ของ Mac มีจุดเริ่มต้นสร้างบนโพรเซสเซอร์ อนุกรม 68000 ของ Motorola ได้รับพลังโดยไมโครโพรเซสเซอร์ PowerPC ซึ่งได้รับการพัฒนาร่วมโดย Apple, Motorola และ IBM โดยทั่วไป Mac อยู่ในสายการผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล คอนฟิกสำหรับผู้ใช้และธุรกิจกับความต้องการแตกต่างกัน iMac ให้เทคโนโลยี Mac และอินเตอร์เฟซในแพ็คเกจราคาต่ำขณะที่ผู้ใช้ Mac นำเสนอเพียง 5 % ของจำนวนทั้งหมดของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล Mac นิยมอย่างสูงและเกือบเป็นวัฒนธรรมที่จำเป็นท่ามกลางผู้ออกแบบกราฟฟิกและศิลปินเสมือนออนไลน์และบริษัทที่พวกเขาทำงาน โดยทั่วไป ผู้ใช้ Mac มีแนวโน้มกระตือรือร้น
 3) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมมากเช่นเดียวกัน พัฒนาขึ้นมาโดย ลินุส ทอวาลดส์ (Linux Torvalds) ชาวฟินแลนด์ ลินุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายกับยูนิกซ์ แต่มีขนาดเล็กกว่า ในช่วงแรกเป็นการพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคลเท่านั้น แต่ในช่วงหลังความนิยมในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายเพิ่มสูงขึ้น จึงมีผู้พัฒนาส่วนประกอบอื่นๆ ของลินุกซ์เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานทางด้านเครือข่ายมากขึ้น
4) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซร์ฟเวอร์   ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ Network Operating System คือ โปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการบริหาร จัดการเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายและการใช้ทรัพยากรต่างๆ บนเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์, ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น สำหรับ Windows Server 2003 เป็นระบบปฏิบัติการสําหรับเครือข่าย (NOS)  ที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft)โดยออกแบบและพัฒนาความสามารถต่าง ๆมาจากระบบปฏิบัติการ Windows 2000 Server และยังเพิ่มความสามารถใหม่ ๆเข้าไปอีกหลายอย่าง ด้วยกัน

5)ระบบปฏิบัติการปาล์ม  หรือ Palm คืออุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ที่ทำหน้าที่หลักในการเป็น organizer ก็คือการจัดระบบระเบียบส่วนตัว แต่ด้วยความ สามารถที่มากกว่านั้นปาล์มก็มีคุณสมบัติในการเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก(ขนาดปาล์มจึงได้ชื่อว่า Palm-size Computers) หรือ ขนาดพกพาไปไหนมาไหนได้ (จึงได้ชื่อว่า Hanheld Computers



6)ระบบปฏิบัติการซิมเบียน (Symbian OS)        ระบบปฏิบัติการ Symbian คือระบบปฏิบัติการที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย และออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในงานกับโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลัก ในการรับส่งข้อมูล เป็นระบบที่ใช้งานง่าย ประหยัดพลังงาน ใช้หน่วยความจำขนาดเล็ก และมีความปลอดภัยสูง ทำให้เหมาะที่จะนำมาใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่

      3.2 โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์

             โปรแกรมแปลภาษา เป็นซอฟต์แวร์หรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่แปล Source Program ให้เป็น Object Program เนื่องจากภาษาระดับต่ำและภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถรับรู้ได้จำเป็นต้องมีชุดคำสั่งที่ใช้เป็นตัวแปลภาษาให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อน

   

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประเภทของซอฟแวร์


2.ประเภทของซอฟต์แวร์
       ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน พอแบ่งแยกซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง  เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ                                                                                                                                                                     

ความหมายและความสำคัญของซอฟต์แวร์




1.ความหมายเเละความสำคัญของซอฟต์แวร์

                    ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่คอยสั่งการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน รวมไปถึงการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆ เช่น CD ROM drive,modem เป็นต้น ซอฟต์แวร์เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่สามารถรับรู้การทำงานของมันได้ซึ่งต่างกับฮาร์ดแวร์ (hardware)ที่สามารถจับต้องได้ ซอฟต์แวร์เป็นศัพท์ที่มีความหมายกว้างขวางมาก บางครั้งอาจรวมถึงผลรับลัพธ์ต่างๆ เช่น ผลการพิมพ์ที่ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์เอกสารการพัฒนาซอฟต์แวร์ ตลอดจนคู่มือการใช้ การสั่งใดๆให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการนั้น ต้องอาศัยซอฟ๖แวร์เป็นตัวเชื่อมระหว่างคนหรือผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้น ซอฟต์แวร์จึงมีความสำคัญทัดเทียมกับฮาร์ดแวร์